แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ดูชีวิต

ชุมชนแห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน

PMQA

leave a comment »

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award: PMQA)

เป็นแนวทางพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ (High Performance Organization) ซึ่งทาง สำนักงาน กพร. ได้นำมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการและยกระดับการ ปฏิบัติงานที่อ้างอิงจาก พระราชฏฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

ในปี 2549 สำนักงาน กพร.ได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จัดทำเกณฑ์ PMQA โดยนำเกณฑ์ TQA และเกณฑ์จากต่างประเทศมาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของราชการไทย และได้เตรียมผู้ตรวจประเมินภายนอกเพื่อทำหน้าที่ประเมินองค์กรภาครัฐที่จะขอ รับรางวัล PMQA

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 ได้มีการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยการเปิดการสัมมนาโดย นายพิเชษฐ์ ไพบูลย์ศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประทุมธานี ในฐานะ CKO (Chief Knowledge Officer) ของจังหวัด ซึ่งประธานได้ย้ำถึงความสำคัญของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการ เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กรภาครัฐไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ ทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเน้นการเรียนรู้ของข้าราชการใน 4 หัวข้อ ได้แก่

  • Thinks คิดนอกกรอบและสร้างสรรค์
  • Team การสร้างกลุ่มทำงานภายใต้เป้าหมายเดียวกัน
  • Time เรียนรู้เรื่องเงื่อนเวลา ลำดับความสำคัญของงานกับเวลา
  • Targets มีเป้าหมายที่ชัดเจน ที่พร้อมที่จะใช้ทรัพยากรที่มีเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น

หลังจากนั้นเป็นการบรรยายโดย ดร.รัฐ ธนาดิเรก ที่ปรึกษาจากบริษัท ท.ธนารัฐ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเรื่องความสัมพันธุ์ของ KM และ PMQA สรุปได้ดังต่อไปนี้

ตามปกติแล้วการปฏิบัติงานขององค์กรมักจะประกอบไปด้วยพื้นฐานที่สำคัญ ต่อไปนี้

  • วิสัยทัศน์ที่แสดงทิศทางที่ชัดเจนว่าองค์กรต้องการ achieve อะไร
  • มีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนรองรับเพื่อให้บรรลุเป้ามหายองค์กร
  • มีวัตถุประสงค์การทำงานที่สอดรับกัยแผนยุทธศาสตร์นั้น
  • มีโครงการที่ทำนำสิ่งที่คิดไปสูาการปฏิบัติ
  • มี action plans หรือแผนการทำงานที่มี time line และ beanch mark ที่ตรวจสอบได้
  • มีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ (Knowledge workers)

PMQA เป็นมาตรฐานในการกำหนดคุณภาพการทำงาน มี 7 ประการ ได้แก

PMQA-1 ภาพรวมวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ขององค์กร

PMQA-2 แผนกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อ

  • การสร้างงาน การปฏิบัติการติดตาม
  • Individual scorecard เพื่อติดตาม performance ของพนักงานที่ contribute สู่องค์กร
  • Risk management ขององค์กร

PMQA-3 ผู้มีส่วนได ส่วนเสีย และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

PMQA-4 การจัดการองค์ความรู้ ของบุคลากรและองค์กร ทางด้าน หรืองานด้านการจัดการความร (Knowledge management) ทั้งหมด

  • IT
  • Non-IT

PMQA-5 การบริหารทรัพยากรบุคคลหรือการจัดการด้าน Learning organization

  • สร้างแรงจูงใจ
  • สร้าง carrier path
  • สร้างบรรยากาศในการทำงาน

PMQA-6 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

PMQA-7 การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เป็นการบูรณาการแผน คน และความรู้ และการประเมินผลในภาพรวม

ภาพที่ 2 นี้ แสดงให้เห็นว่า PMQA แต่ละข้อนั้นไปตอบโจทย์แผนการทำงานขององค์กรในขั้นตอนใดบ้าง อย่างไรก็ตาม กพร.ยังได้กำหนดขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตาม PMQA ในแต่ละข้อ โดยข้อที่ 1 ถึง 6 นั้นใช้ A,D,L,I ส่วนข้อที่ 7 นั้นใช้ Lo,T,C,L,I

  • A หมายถึง Approach เน้นการให้ความสำคัญของงานของตัวบุคคล
  • D หมายถึง Deploy คือการรู้จักวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และการประเมินศักยภาพ
  • L หมายถึงการเรียนรู้ หรือ Learning ในทุกๆด้านของการทำงาน
  • I หมายถึง Integrated หรือการบูรณาการสิ่งต่างๆเข้าหากัน เพื่อให้ง่นบรรลุเป้าหมาย

ในการสัมมนาครั้งนี้จะเน้นเฉพาะ PMQA ข้อที่ 4 เรื่องการจัดการความรู้ โดยอ้างอิงทฤษฏีการจัดการความรู้ของ Dr. Nonaka เรื่องความสัมพันธุ์ของความรู้จากประสบการณ์ (Tacit knowledge) และ ความรู้ที่เป็นหลักการและเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit knowledge) เป็นหลัก

รูปที่ 3 แสดงความสัมพันธุ์ระหว่าง Tacit และ Explicit knowledge ที่การแปลงความรู้จากประสบการณ์ไปเป็นแบบแผนนั้นต้องอาสัย

การ Approach และ Deploy เพื่อนำความรู้ประสบการณ์ในตัวบุคคลนั้นมาสู่แบบแผน หลักการที่ทุกคนมาเรียนรู้ร่วมกันได้ ในขณะเดียวกันการแปลง explicit กลับไปเป็น Tacit นั้นต้องอาศัยการ Integrated ความรู้ที่มีสู่กระบวนการเรียนรู้ (Learning) เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญในศาสตร์นั้นๆ

ดังนั้นการจัดการความรู้ตามหลักการของ PMQA-4 นั้น จะประกอบด้วย การจัดการ 4 ด้านด้วยกันคือ

  1. การจัดการ Tacit knowledge ทำอย่างไรที่จะนำประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญส่วนบุคคลมาใช้กับองค์กรให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
  2. การจัดการด้าน Explicit knowledge ทำอย่างไรจึงมีระบบการจัดเก็บแบบแผน ความรู้ที่ดีขององค์กร
  3. การจัดการในการแปลง Tacit knowledge เป็น Explicit knowledge อย่างเป็นระบบ เพื่อการใช้ประโยชน์ของคนทั้งองค์กร
  4. การจจัดการแปลง Explicit knowledge เป็น Tacit knowledge หรือการสร้าง ประสิทธิภาพการทำงานในตัวบุคลหรือ personal empowerment โดยเรียนรู้จากระบบความรู้ในองค์กร
  5. การจัดการส่งผ่านความรู้สู่คนรุ่นต่อๆไปหรือการมี knowledge repository ทีดี
  6. การจัดการให้ความรู้นี้ไปสู่ผู้ที่ต้องการได้เร็ว สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปที่ 4 แสดงวงจรการจัดการความรู้แบบ Spiral SECI ของ Ikujiro Nonaka และ Hirotaka Takeuchi จาก

  • Tacit ไปสู่ Explicit หรือ Externalization
  • Explicit ไปสู่ Explicit หรือ Combination
  • Explicitไปสู่ Explicit หรือ Internalization และ
  • Explicit ไปสู่ Tacit หรือ Socialization

จะเห็นกานำเอาทฤษฏีดังกล่าวมาปรับใช้ใน PMQA-4 ของสำนักงาน กพร. และมีแบบฟอร์มที่หน่วยงานราชการต้องกรอกในเรื่องการจัดการความรู้ที่ประกอบ ด้วยขั้นตอนทั้ง 4ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อการตอบโจทย์ KPI ของ องค์กร และกพร.

สนใจหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อง PMQA ได้ที่

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/qa/Files/km_web/PMQA/pmqa.pdf

และทฤษฏีการจัดการความรู้ของ Nonaka และ Takeuchi ที่

http://www.12manage.com/methods_nonaka_seci.html

Written by khunpisuth

มีนาคม 16, 2009 ที่ 3:21 am

ใส่ความเห็น